การแต่งกายและการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ |
|
|
|
เขียนโดย Administrator
|
วันอังคารที่ 19 เมษายน 2011 เวลา 15:53 น. |
การแต่งกายที่ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ การแต่งกาย ที่สามารถประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ คือ ดวงตราดารา และสายสะพาย เครื่องหมายแพรแถบ เครื่องหมายดุมเสื้อ หรือเหรียญราชการจำลองนั้น สามารถจำแนกการแต่งกายได้ 3 แบบ ดังนี้ 1. การแต่งเครื่องแบบข้าราชการ 2. การแต่งกายชุดสากล 3. การแต่งกายชุดไทย ทั้งนี้ การที่จะประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นใด ตระกูลใด เวลาใดนั้น ขึ้นอยู่กับความสำคัญของงาน และจะต้องสอดคล้องกับการแต่งเครื่องแบบอีกด้วย 1. เครื่องแบบข้าราชการประจำการ มี 2 ประเภท ได้แก่ ก. เครื่องแบบสีกากีคอพับ ข. เครื่องแบบสีกากีคอแบะ 2. เครื่องแบบพิธีการมี 5 ประเภท ได้แก่ ก. เครื่องแบบปกติขาว ข. เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง ค. เครื่องแบบครึ่งยศ ง. เครื่องแบบเต็มยศ จ. เครื่องแบบสโมสร
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานต้องปฏิบัติดังนี้ 1. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายยังไม่สามารถประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นได้ แม้จะมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ตาม 2. บุคคลจะประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายได้ทันทีหลังจากเข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นๆ 3. ส่วนที่มิได้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานในวันนั้น จะประดับได้ต่อเมื่อพ้นวันพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นๆ แล้ว ส่วนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลและชั้นอื่นๆ ซึ่งมิได้กำหนดให้บุคคลเข้าเฝ้า รับพระราชทาน ให้ประดับได้ตั้งแต่วันเนื่องในโอกาสพระราชทาน หรือตั้งแต่วันที่มีประกาศของทางราชการแล้วแต่กรณี 4. การแต่งกายประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 4.1 แบบเต็มยศ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ให้สวมใส่สะพายด้วย 4.2 แบบครึ่งยศ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ไม่ต้องสวมใส่สะพาย สำหรับผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นต่ำกว่าสายสะพายการแต่งกายแบบเต็มยศและแบบครึ่งยศให้ประดับเหมือนกัน
การสวมเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย ให้สวมสายสะพายตามพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นั้นๆ การสวมสายสะพายบ่าซ้ายเฉียงลงทางขวา 1. มหาจักรีบรมราชวงศ์ 2. ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ 3. ปฐมจุลจอมเกล้า (ฝ่ายหน้า - ฝ่ายใน) 4. ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ฝ่ายใน) 5. มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก 6. มหาวชิรมงกุฎไทย การสวมสะพายบ่าขวาเฉียงลงทางซ้าย 1. ราชมิตราภรณ์ 2. นพรัตน์ราชวราภรณ์ 3. เสนางคะบดี (รามาธิบดี) 4. ประถมาภรณ์ช้างเผือก 5. ประถมาภรณ์มงกุฎไทย 6. ปฐมดิเรกคุณาภรณ์
<< กลับสู่หน้า ความรู้เกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
|