ผู้อำนวยการกอง
นายสุชานนท์ โนนยะโส
รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ
กองบริหารงานบุคคล
พยากรณ์อากาศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย Administrator |
วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2011 เวลา 11:40 น. |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ คือ สิ่งที่เป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบซึ่งเป็นของพระมหากษัตริย์ที่ทรงสร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นความชอบในราชการ หรือส่วนพระองค์ และมีความหมายรวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน รวมถึงเหรียญที่ระลึก พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่างๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้บุคคลไปประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไม่ว่าจะเป็นตระกูลหรือชั้นตราใด ถือได้ว่าเป็นผู้มีเกียรติยศ และจะเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานรวมถึงวงศ์ตระกูล ประวัติความเป็นมาของเครื่องราชอิสริยาภรณ์มีต้นกำเนิดมาจากยุโรปโดยมีสมเด็จพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขแห่ง คริสตจักร ณ กรุงโรมทรงสถาปนาขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อครั้งสงครามครูเสด เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบในการสงครามและการพระศาสนา ส่วนความเป็นมาในประเทศไทยนั้นเริ่มปรากฏขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ด้วยทรงมีพระราชดำริให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อราวปี พ.ศ. 2400 อันเป็นปีที่ 7 ในรัชกาลที่ 4 เมื่อสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกนั้น มีแต่ดวงดาราสำหรับติดเสื้อ เรียกกันว่า " ตรา " ยังไม่มีตราพระราชบัญญัติให้เรียกอย่างไร แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกในพระราชนิพนธ์ว่า " เครื่องประดับสำหรับยศ " โดยทรงใช้คำว่า " เครื่องราชอิสริยยศ " หมายถึง เฉพาะเครื่องประดับของพระมหากษัตริย์ ถ้าเป็นเครื่องประดับสำหรับขุนนาง ทรงใช้คำว่า " เครื่องสำคัญยศ " ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2416 จึงโปรดให้เรียกว่า " เครื่องราชอิสริยยศ " มาจนถึงปี พ.ศ. 2431 จึงได้เปลี่ยนมาเรียกว่า " เครื่องราชอิสริยาภรณ์ " และเรียกมาจนถึงสมัยปัจจุบัน ประเภทและชนิดเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยในปัจจุบัน ตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานในราชการ |
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 06 มีนาคม 2014 เวลา 08:51 น. |